หน่วย " เพื่อนยาก"

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

Week 9 - 11




เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถอ่านเรื่องราวและ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล   สามารถนำเสนอวรรณกรรมที่อ่านและสรุปความเข้าใจและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างสร้างสรรค์และน่าสนใจ

Week

Input

Process

Output

Outcome
๑๑

๒๕
 ..
๒๕๕๗



โจทย์ :
สรุปความเข้าใจเรื่องเพื่อนยาก
( แอนนิเมชั่น)

Key  Question
 นักเรียนจะนำเสนอเรื่องเพื่อนยากให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?

เครื่องมือคิด
 Brainstoms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอเรื่องเพื่อนยากในรูปแบบแอนนิเมชั่น

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- วรรณกรรมเรื่องเพื่อนยาก








ชง
ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนจะนำเสนอวรรณกรรมเรื่องเพื่อนยากให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?”
เชื่อม
- นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอเรื่องเพื่อนยาก( แอนนิเมชั่น)
- นักเรียนแต่ละคนแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน
 เช่นงานตัดต่อ  เขียน Story board วาดภาพ ถ่ายทำ  แต่เพลง ฯลฯ
ใช้
นักเรียนทำงานแอนนิเมชั่นเรื่องเพื่อนยาก
ชง
ครูเปิดคลิปงานแอนนิเมชั่นให้นักเรียนดู
และใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนคิดว่าผลงานของตนเองเป็นอย่างไร? ”
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นและสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการทำงานชิ้นนี้ร่วมกันอีกครั้ง
-  การแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอเรื่องเพื่อนยาก
( แอนนิเมชั่น)
- การแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน เช่น งานตัดต่อ  เขียน Story board วาดภาพ ถ่ายทำ  แต่เพลง ฯลฯ



ความรู้ :           สามารถนำเสนอวรรณกรรมที่อ่านและสรุปความเข้าใจและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างสร้างสรรค์และน่าสนใจ
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- การนำเสนอเรื่องที่ตนเองอ่าน ศึกษาให้ผู้อื่นเข้าใจในรูปแบบที่สร้างสรรค์และน่าสนใจ

ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “ นักเรียนจะนำเสนอวรรณกรรมเรื่องเพื่อนยากให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร?” พี่ม.3 ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการนำเสนอเรื่องเพื่อนยาก ในรูปแบบงานแอนนิเมชั่น โดยแต่ละคนแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน เช่นงานตัดต่อ เขียน Story board วาดภาพ ถ่ายทำ แต่เพลง ฯลฯ จากการสังเกตการทำงานของพี่ม.3 นั้นเห็นการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีมากขึ้น มีการทำงานที่เป็นทีมและชัดเจนในบทบาทการทำงาน ทุกคนต่างช่วยเหลือกัน รับฟังความคิดเห็นของกันและกันมากขึ้น มีความกระตือรือร้นในการทำงาน ซึ่งงานกว่าจะเสร็จก็เจอปัญหาหลายอย่างจากตอนแรกที่วางไว้คือตัวละครนั้นจะใช้การวาดตัวละครจากกระดาษ และใช้เสียงพากษ์ แต่ใกล้ส่งงานกลับมีปัญหาเรื่องการพากษ์นั้นไม่น่าสนใจ จึงมีการปรับใหม่อีกครั้ง เป็นเขียนบรรยายแทน และใส่เพลงบรรเลงคลอเบาๆ แต่ข้อความที่เขียนบรรยายก็ต้องปรับแก้อีกครั้งเพราะไม่มีอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร และก็คิดว่าเพลงบรรเลงคลอเบาๆนั้นมันดูเศร้าเกินไปจึงปรับอีกเป็นใส่เพลงแบบเร้าอารมณ์มากขึ้น แต่เมื่อมานั่งดูร่วมกันอีกครั้ง กลับทำให้รู้สึกไม่ได้อารมณ์เพราะเรื่องราวที่เกิดขึ้นนั้นค่อนข้างเศร้า จึงเปลี่ยนมาเป็นเพลงบรรเลงที่แต่งเองโดยการเกากีต้าร์คลอเบาๆ สุดท้ายก็ได้ผลงานแอนนิเมชั่นเรื่องเพื่อนยากของพี่ม.3 ออกมาค่ะ เท่านั้นยังไม่พอนะคะ พี่ๆยังแต่งเพลงเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นทั้งหมดเกี่ยวกับเรื่องเพื่อนยากอีกครั้ง คุณครูฟังแล้วรู้สึกชอบมากค่ะ เหมือนอ่านหนังสือจบทั้งเล่มแล้ว ขอบคุณในความตั้งใจของพี่ๆทุกคนค่ะ


    ตอบลบ