หน่วย " เพื่อนยาก"

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

Week 1



เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถคาดเดาหรือคาดคะเนเหตุการณ์ได้อย่างมีเหตุผล อ่านจับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้ รวมทั้งสามารถอธิบายเกี่ยวกับคำประสม และคำซ้อน มีนิสัยรัก การอ่าน มีมารยาทในการ ฟัง พูด และเขียนที่ดี

Week

Input

Process

Output

Outcome

..
๒๕๕๗
โจทย์ :
- เพื่อนยากหน้า ๑- ๑๕
- คาดเดาเรื่อง
- คำประสม  คำซ้อน

Key  Question
ลักษณะนิสัยของเลนนีและจอร์จเหมือนและแตกต่างกันอย่างไร ?

เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
- ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ได้อ่านและฟัง
- การร่วมอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของคำประสมและคำซ้อนได้

Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน ภาพวาดประกอบเรื่องที่อ่าน
- การนำเสนอการแต่งประโยคจากคำประสม และคำซ้อน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- วรรณกรรมเรื่องเพื่อนยาก
- อินเทอร์เน็ต
ชง  
ครูแนะนำหนังสือที่จะใช้ในสัปดาห์นี้
ชื่อม
 คาดเดาเรื่องราวเกี่ยวกับหนังสือ 
ชง
นักเรียนอ่าน เรื่อง เพื่อนยากหน้า ๑- ๑๕         โดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง

ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
  นักเรียนวาดภาพประกอบเรื่องที่อ่าน
ชง
เล่นเกมจับคู่ โดยครูแจกใบงาน ให้นักเรียนจับคู่ให้ถูก ว่าคำต่อไปนี้ควรเติมลงในช่องว่างใด ( คำประสมหรือคำซ้อน)
คำประสม =  ดาวเรือง  คนสวน  เข้าใจ
คำซ้อน = จิตใจ  บ้านเรือน  ยากง่าย
เชื่อม
- ครูและนักเรียนแสดงความคิดเห็นร่วมกัน
- แบ่งกลุ่มนักเรียนช่วยกันหาคำที่เป็นคำประสมและคำซ้อนจากวรรณกรรมแปล เพื่อนยาก
หน้า ๑- ๑๕ ให้ได้มากที่สุดแล้วเขียนลงในกระดาษ A 4
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอคำประสมและคำซ้อน
 - จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่  เพราะอะไร
- นักเรียนช่วยกันอธิบายลักษณะของคำประสมและคำซ้อน

ใช้
- นักเรียนแต่ละคนนำคำประสมและคำซ้อนที่หาจากวรรณกรรมแปล เรื่องเพื่อนยาก หน้า ๑ - ๑๕
 มาเขียนแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวเดียวกันพร้อมวาดภาพประกอบให้สวยงาม
เชื่อม   
- ครูสุ่มเลือกผลงานของนักเรียนออกมานำเสนอจำนวน ๕คน
- ครูและนักเรียนร่วมสนทนาเกี่ยวกับลักษณะคำประสม และคำซ้อนอีกครั้ง

- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การวาดภาพประกอบเรื่อง
- การร่วมอธิบายเกี่ยวกับลักษณะของคำประสมและคำซ้อนได้
- การแต่งประโยค
ความรู้ :สามารถอธิบายเกี่ยวกับคำประสม และคำซ้อน ได้รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
สามารถอธิบายเกี่ยวกับคำประสม และคำซ้อน และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ม.3 ได้เล่นคาดเดาเรื่อง " เพื่อนยาก " โดยครูให้นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าคำว่า เพื่อนยากนั้น นักเรียนคิดว่ามีความหมายอย่างไร ซึ่งงหลายคนได้ให้ความคิดเห็นที่แตกต่างกันอย่างเช่น เพื่อนที่ร่วมทุกข์ร่วมสุข เพื่อนที่ไม่ทิ้งกัน เพื่อนที่ไม่ใช่แค่คนด้วยกันแต่รวมถึงสัตว์ได้ด้วย ฯลฯ พี่ม.3 สามารถแสดงความคิดเห็นได้หลากหลายและน่าสนใจมากเลยค่ะ จากนั้นครูให้พี่ม3 อ่านเรื่อง เพื่อนยากหน้า ๑- ๑๕ โดยการอ่านออกเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ แล้วร่วมอภิปรายเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านอีกครั้ง นอกจากนั้นครูก็พาเล่นเกมจับคู่ โดยครูแจกใบงาน ให้นักเรียนจับคู่ให้ถูก ว่าคำต่อไปนี้ควรเติมลงในช่องว่างใด ( คำประสมหรือคำซ้อน)
    คำประสม = ดาวเรือง คนสวน เข้าใจ คำซ้อน = จิตใจ บ้านเรือน ยากง่าย พี่ๆทุกคนตั้งใจและร่วมทำกิจกรรมดีมากค่ะ

    ตอบลบ