หน่วย " เพื่อนยาก"

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

Week 5 - 6




เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถอ่านเรื่องราว เข้าใจความหมายของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  สามารถอธิบายลักษณะของคำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ  คำที่มักเขียนผิด ได้รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง

Week

Input

Process

Output

Outcome

๒๐
มิ..
    ๒๕๕๗
โจทย์ :
- เพื่อนยาก หน้า ๕๑ ๗๐
- คำไทยแท้และคำที่มักเขียนผิด

Key  Question
ความฝันของจอร์จกับเลนนี่เป็นอย่างไร?

เครื่องมือคิด
 Brainstorms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านและฟัง
Show and Share : นำเสนอชิ้นงาน สนทนาแสดงความคิดเห็นร่วมกัน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
 - วรรณกรรมเรื่องเพื่อนยาก
 - อินเทอร์เน็ต

เชื่อม
ทบทวนเรื่องเพื่อนยากตอนที่อ่านผ่านมาแล้ว โดยนักเรียนร่วมกันเล่าเรื่องย้อนกลับ
 ชง
นักเรียนอ่าน เพื่อนยาก หน้า ๕๑ ๗๐โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
  นักเรียนเลือกตอนที่อ่านแล้วประทับใจและเขียนสรุปในรูปของการ์ตูนช่อง
 ชง
 ครูให้นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่ตนเองมักเขียนผิด คนละ ๕ คำ พร้อมอธิบายเหตุผลที่ตนเองมักเขียนผิด
เชื่อม
ครูและนักเรียนสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับคำศัพท์ที่นักเรียนมักเขียนผิด
ใช้
ครูให้นักเรียนเขียนคำศัพท์ที่มักเขียนผิดตามคำบอกจำนวน ๒๐  คำ
เชื่อม
 ครูเฉลย จากนั้นวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
 ใช้
นักเรียนนำคำศัพท์มาแต่งประโยคให้เป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างน้อย ๑๐ คำ
เชื่อม 
- ครูสุ่มเลือกผลงานของนักเรียนออกมานำเสนอจำนวน ๕คน
- ครูและนักเรียนร่วมกันวิจารณ์ผลงานของเพื่อนนักเรียนร่วมกันอีกครั้ง
ชง
- ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละเท่าๆกันและให้นักเรียนจัดหมวดหมู่คำศัพท์ว่าเป็นคำไทยแท้หรือคำที่มาจากภาษาอื่น
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันตรวจสอบว่าใช่หรือไม่
ใช้
- ครูให้นักเรียนจับคู่ศึกษาเรื่องคำไทยแท้และสรุปเป็นรูปเล่มรายงาน
 - นักเรียนละคู่ออกแบบใบงานเรื่องคำไทยแท้  และแลกเปลี่ยนกันทำใบงานกับเพื่อนคู่อื่นๆ
เชื่อม
ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับความสำคัญของคำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศในชีวิตประจำวัน

- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การเล่าเรื่องย้อนกลับ
- เขียนสรุปตอนที่ประทับใจในรูปแบบของการ์ตูนช่อง
- รายงาน
- ใบงาน ( นักเรียนออกแบบ)

ความรู้ : สามารถอธิบายลักษณะของคำไทยแท้และคำที่มาจากภาษาต่างประเทศ  คำที่มักเขียนผิด ได้รวมทั้งใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายสิ่งที่ตนเอง/กลุ่มวางแผนและจัดทำชิ้นงานได้อย่างมีเหตุผลและน่าสนใจ
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ม.3 อ่านเรื่องเพื่อนยาก หน้า ๕๑ – ๗๐โดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ จากนั้นร่วมกันสร้างความเข้าใจร่วมกันโดยการถามตอบเรื่องที่อ่านมาแล้ว เพื่อที่จะให้พี่ม.3 เชื่อมโยงเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ครูให้พี่ๆเลือกคำที่ตนเองมักเขียนผิดมาคนละ1 คำ และเขียนคำนั้นบนกระดาน จากนั้นก็ให้นักเรียนแต่ละคนเขียนคำที่มักเขียนผิดนั้น ปรับแก้เป็นคำที่เขียนถูกให้หมด แล้วร่วมวงอภิปรายเกี่ยวกับสาเหตุที่ทำให้เรามักเขียนผิดค่ะ และอธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างของคำไทยแท้กับคำที่มาจากภาษาต่างประเทศว่าเป็นอย่างไร ซึ่งพี่ๆก็จะได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและทำใบงานเพื่อสร้างความเข้าใจอีกครั้งค่ะ พี่ๆตั้งใจในการทำกิจกรรมต่างๆดีมากค่ะ โดยเฉพาะการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ทุกคนมีความคิดเป็นของตนเองและกล้าที่จะแสดงออกมา

    ตอบลบ