หน่วย " เพื่อนยาก"

เป้าหมาย : เพื่อให้นักเรียนสามารถใช้ภาษาไทยเพื่อเรียนรู้ ข้อมูล เรียนรู้การลงมือปฏิบัติเรียนรู้ตัวเองและเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้วรรณกรรม: เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้การใช้ภาษาจริงจากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลแวดล้อม และ การเรียนรู้ผ่านวรรณกรรม เป็นการจำลองชีวิตจริง มีความงดงามทั้งวิถีชีวิตและการใช้ทักษะทางภาษา อีกทั้งจรรโลงใจให้ใคร่ครวญ

Week 7



เป้าหมายรายสัปดาห์ : สามารถอ่านเรื่องราวและ จับใจความสำคัญของเรื่องและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล  ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิต สามารถเขียนเรื่องตามจินตนาการได้ มีนิสัยรักการอ่าน มีมารยาทในการพูดและฟัง

Week

Input

Process

Output

Outcome

๒๓ ๒๗
มิ..
๒๕๕๗

โจทย์ :
- เพื่อนยาก หน้า ๗๑ - จบ
- การเขียนเรื่องตามจินตนาการ

Key  Question
ทำไมจอร์จจึงไม่ให้เลนนี่เล่าความฝันให้ใครฟัง?

เครื่องมือคิด
 Brainstoms :
ร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องที่ได้อ่านและฟัง 

Show and Share : การนำเสนอชิ้นงานและการอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับงานเขียน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
- ครู
- นักเรียน

สื่อและแหล่งเรียนรู้
- บรรยากาศภายในชั้นเรียน
- วรรณกรรมเรื่องเพื่อนยาก
- อินเทอร์เน็ต
- ห้องสมุด


เชื่อม
ครูทบทวนเรื่องเพื่อนยากที่อ่านผ่านมาแล้ว
ชง
นักเรียนอ่าน เพื่อนยาก หน้า ๗๑ - จบโดยอ่านเสียง (อ่านคนเดียว/อ่านต่อเนื่อง/อ่านพร้อมกัน)หรืออ่านในใจ
เชื่อม
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง
จำ : เรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : สรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: วิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละคร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : สรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริง
ประเมินค่า:การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : แต่งเรื่องใหม่  แต่งตอนจบใหม่ 
วาดภาพประกอบ  ฉาก การ์ตูน
ใช้
นักเรียนเขียนสรุปโดยวาดภาพประกอบเรื่อง
ชง
ครูใช้คำถาม “ ถ้าให้นักเรียนเขียนปรับแต่งลักษณะของตัวละครจากเรื่องเพื่อนยากใหม่ นักเรียนจะทำอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?”
เชื่อม
นักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็น
ชง
- ครูติดรูปภาพบนกระดานแล้วให้นักเรียนพูดบรรยายความรู้สึกจากภาพที่เห็นทีละคน
- ให้นักเรียนเขียนบรรยายความรู้สึกตามรูปที่ครูแจกให้( รูปที่แจกให้แตกต่างกันไป)
เชื่อม
นักเรียนพูดนำเสนอเรื่องที่เขียน
เชื่อม
ครูให้นักเรียนเขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการของตนเองอย่างน้อย ๑ หน้ากระดาษ A4 แล้ววาดภาพประกอบให้สวยงาม

ใช้
ให้นักเรียนแต่ละคนนำเรื่องที่ตัวเองเขียนขึ้นมาทำเป็นนิทานเล่มเล็ก

- การพูดอธิบายลักษณะของตัวละคร   แสดงความคิดเห็นและตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
-  การบอกข้อคิดจากเรื่องที่อ่านได้ และสามารถนำข้อคิดไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันได้
- การสรุปเรื่องที่อ่านโดยวาดภาพประกอบเรื่อง
- สมุดงาน
- การเขียนเรื่องตามจินตนาการ
- นิทานเล่มเล็ก
ความรู้ :สามารถใช้คำและกลุ่มคำสร้างประโยคตรงตามวัตถุประสงค์งานที่ต้องการเขียนได้อย่างสร้างสรรค์
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
- อธิบายเกี่ยวกับความหมายของคำต่างๆและอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการเรียนรู้
- การวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
คุณลักษณะ :
- เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
- คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
- สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ม.3 อ่านเรื่องเพื่อนยาก หน้า ๗๑ - จบ และร่วมกันเล่าเรื่องย้อนกลับเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันอีกครั้ง จากนั้น ครูใช้คำถาม “ ถ้าให้นักเรียนเขียนปรับแต่งลักษณะของตัวละครจากเรื่องเพื่อนยากใหม่ นักเรียนจะทำอย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?” พี่ๆทุกคนต่างก็แสดงความคิดเห็นของตนเอง แต่ส่วนมากจะไม่ให้จอร์จฆ่าเลนนี่ เพราะเลนนี่น่าสงสาร และอยากให้ทั้งจอร์จและเลนนี่หนีไปอยู่ที่อื่นดีกว่าค่ะ
    จากนั้นครูให้พี่ม.3 เขียนแต่งเรื่องตามจินตนาการของตนเองอย่างน้อย ๑ หน้ากระดาษ A4 แล้ววาดภาพประกอบให้สวยงาม ซึ่งพี่ๆต่างก็มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้เป็นอย่างดีค่ะ

    ตอบลบ